6 รูปแบบหลังคาบ้าน ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี
หลังคาบ้าน เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่สำคัญของตัวบ้าน แบบหลังคาบ้านที่ดีจะช่วยให้บ้านมีความสวยงาม สามารถให้ทิศทางลมพัดเข้าบ้านได้อย่างทั่วถึง กันแดดและฝนได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงระบายความร้อนออกจากบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการของการก่อสร้างหลังคาบ้านเองก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เฉพาะ มิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาการรั่วซึมได้ และควรหมั่นตรวจสอบหลังคาอยู่เสมอ โดยคุณสามารถติดต่อช่างซ่อมหลังคาเพื่อให้มั่นใจได้ว่าปัญหาใดๆ ที่เกิดขึ้นจะได้รับการดูแลที่ถูกต้อง และไม่เกิดปัญหาเดิมซ้ำอีกครั้งในอนาคต
การเลือกหลังคาบ้าน
ก่อนจะตัดสินใจสร้างหลังคาบ้าน นอกจากความสวยงามแล้ว สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือรูปทรงหลังคา การเลือกรูปทรงหลังคาบ้านที่ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้อายุการใช้งานของหลังคาบ้านยืนยาวมากขึ้น อีกทั้งรูปแบบหลังคาบ้านแต่ละประเภทก็จะเน้นการใช้งานที่แตกต่างกันไป มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป บางแบบอาจจะใช้ได้ดีสำหรับกันแดดและฝน บางแบบอาจจะใช้สำหรับกันหิมะทับถม หรือบางแบบอาจจะสามารถระบายอากาศได้ รับแสงได้ดี แต่มีปัญหาในเรื่องการรั่วซึมของน้ำฝน เป็นต้น การเลือกแบบหลังคาบ้านที่เหมาะสมต่อการใช้งาน จึงนับได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
แบบหลังคาทรงจั่ว (Gable Roof)
แบบหลังคาบ้านทรงหน้าจั่ว รูปทรงเป็นแบบสามเหลี่ยมลาดเอียงลงมา โดยมีด้านบนของทั้งสองฝั่งบรรจบกันที่สันบนสุด เป็นแบบที่สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นทรงที่สร้างได้ง่าย เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย รวมไปถึงประเทศที่อยู่ในเขตร้อนประเทศอื่นๆ ด้วย
ข้อดี: สามารถกันแดดกันฝนได้ดี ด้วยความที่เป็นทรงลาดเอียง ทำให้น้ำสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้อย่างรวดเร็ว หากเจาะช่องระบายความร้อนร่วมด้วย จะยิ่งทำให้บ้านระบายความร้อนได้ดีขึ้น
ข้อเสีย: ฝนสามารถสาดเข้าสู่บริเวณหน้าจั่วได้ จึงควรติดกันสาดเพิ่ม
แบบหลังคาทรงปั้นหยา (Hip Roof)
แบบหลังคาบ้านทรงปั้นหยา รูปทรงเป็นแบบลาดลงคล้ายทรงหน้าจั่ว แต่จะลาดลงทั้ง 4 ด้าน และบรรจบกันตรงด้านบน เป็นอีกหนึ่งแบบหลังคาบ้านที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป
ข้อดี: สามารถกันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดีเพราะหลังคามีองศาที่ลาดลงทั้ง 4 ด้าน ทำให้น้ำสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องฝนสาด อีกทั้งยังมีความแข็งแรงสูงเพราะทุกด้านเชื่อมมาบรรจบกันที่ด้านบน
ข้อเสีย: ด้วยความที่เป็นทรงที่ทุกด้านบรรจบกันที่ยอดบนสุด จึงเป็นทรงที่มีจุดเชื่อมต่อค่อนข้างเยอะ ทำให้สามารถเกิดปัญหารั่วซึมได้ หากทำโดยทีมช่างที่ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ
แบบหลังคาทรงโดม (Dome Roof)
แบบหลังคาบ้านทรงโดม รูปทรงจะเป็นแบบโค้งมน เหมือนวงกลมผ่าครึ่งแล้วคว่ำลง สามารถขึ้นโครงโดยการใช้คอนกรีตเสริมใยแก้วได้ จะพบเห็นหลังคาทรงนี้ได้ตามบ้านสไตล์คลาสสิกหรือบ้านสไตล์ยุโรปที่ให้ความรู้สึกหรูหรา
ข้อดี: มีเอกลักษณ์เฉพาะ เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการความหรูหรา
ข้อเสีย: สามารถรั่วซึมได้ง่ายหากทีมช่างไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ
แบบหลังคาทรงโค้งกลม (Curved Roof)
แบบหลังคาบ้านทรงโค้งกลม เป็นรูปแบบหลังคาทรงโค้งและมีชายคายื่นออกมา มีเอกลักษณ์และดึงดูดสายตาของผู้คนได้เป็นอย่างดี สามารถเข้ากับรูปแบบบ้านได้หลายสไตล์
ข้อดี: ด้วยความที่เป็นทรงโค้ง ทำให้วัสดุที่ใช้ในการสร้างเป็นแบบบางและเบา ประเภทเมทัลชีทหรืออะลูมิเนียม สามารถสร้างเป็นทรงโค้งได้หลากหลายรูปแบบ และไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการรั่วซึม
ข้อเสีย: เพื่อความปลอดภัยในการสร้าง จำเป็นจะต้องได้รับการคำนวณโครงสร้างที่ค่อนข้างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญ
แบบหลังคาทรงเรียบแบน (Flat Roof)
แบบหลังคาบ้านทรงเรียบแบน หรือ หลังคาเปลือย แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบตามลักษณะของการก่อสร้าง ได้แก่ หลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นแบบหล่อคอนกรีตให้เป็นแผ่นเดียวกัน และหลังคา Parapet เป็นแบบซ่อนหลังคาโดยการทำหลังคาที่มีผนังล้อมรอบปิดทับหลังคาอีกรอบหนึ่ง หรือทำเป็นดาดฟ้าที่มีผนังรายล้อมโดยรอบ
การทำหลังคาบ้านทรงนี้ ดูเพียงเผินๆ จะเหมือนแบนเรียบสนิท แต่แท้จริงแล้วจะทำองศาให้เอียงลงนิดหนึ่งเพื่อให้สามารถระบายน้ำได้
ข้อดี: สามารถใช้ดาดฟ้าเป็นที่นั่งพักผ่อนได้
ข้อเสีย: คอนกรีตจะดูดซับความร้อน ทำให้ความร้อนซึมลงไปยังภายในบ้าน อีกทั้งยังสามารถเกิดการรั่วซึมได้หากพื้นมีรอยร้าว หรือทำองศาให้เอนลงไม่เพียงพอ จึงควรทำระบบกันซึมรวมไปถึงทำความชันของหลังคาให้ได้มาตรฐานพอ
แบบหลังคาทรงมะนิลา (Dutch Gable Roof)
แบบหลังคาบ้านทรงมะนิลา เป็นรูปทรงที่ผสานแบบหน้าจั่ว และแบบปั้นหยาเข้าด้วยกัน โดยจะมีชายคายื่นออกมาเล็กน้อย
ข้อดี: สามารถกันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดี
ข้อเสีย: เนื่องจากเป็นรูปทรงที่ค่อนข้างซับซ้อน ทำให้อาจเกิดการรั่วซึมได้หากทีมช่างไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ
แบบหลังคาทรงเพิงหมาแหงน (Lean-to Roof)
แบบหลังคาบ้านทรงเพิงหมาแหงน เป็นรูปทรงที่สามารถทำได้ง่าย เพราะเอนลาดลงเพียงด้านเดียว ไม่มีความซับซ้อนในการสร้าง
ข้อดี: ก่อสร้างได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้ประหยัดเวลาและประหยัดค่าก่อสร้าง
ข้อเสีย: สามารถกันแดดกันฝนได้เพียงด้านเดียวเท่านั้น จึงควรติดกันสาดเพิ่มเติม
เลือกวัสดุหลังคาที่ดี ป้องกันปัญหาหลังคารั่ว
วัสดุสำหรับใช้ก่อสร้างแบบหลังคาบ้านมีให้เลือกหลากหลาย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีจุดประสงค์ในการใช้งานและความทนทานแตกต่างกันไป เช่น กระเบื้องคอนกรีตจะมีน้ำหนักมาก จึงเหมาะสำหรับบ้านที่มีโครงสร้างหลังคาที่แข็งแรง หรือกระเบื้องดินเผา ใช้สำหรับระบายความร้อนได้ดี และไม่กักเก็บฝุ่น สามารถใช้น้ำฝนชำระล้างสิ่งสกปรกออกได้ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากเลือกวัสดุไม่ถูกจุดประสงค์ อาจส่งผลให้อายุการใช้งานของหลังคาสั้นลง และอาจเกิดการรั่วซึมได้
สำหรับผู้ที่ประสบปัญหาหลังคารั่วซึม สามารถใช้บริการช่างซ่อมหลังคาของ Q-CHANG ได้เลย เราจะช่วยคุณตรวจสอบหลังคารั่ว ซ่อมจุดที่รั่วเฉพาะจุด พ่นสีหลังคา รวมไปถึงทากันซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นหลังคาประเภทไหน รุ่นใด ยี่ห้ออะไร เราพร้อมใส่ใจในการบริการ ด้วยทีมช่างคุณภาพที่ให้บริการกว่า 1,350 คน และเคยให้บริการเสร็จสิ้นแล้วกว่า 100,000 งาน
สรุปแบบหลังคาบ้าน
การเลือกวัสดุและเลือกประเภทของหลังคาบ้านให้เหมาะสมกับสไตล์ของบ้าน รวมไปถึงจุดประสงค์ในการใช้งานนับเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะบ้านในประเทศไทยซึ่งเป็นเขตเมืองร้อน การสร้างแบบหลังคาบ้านโดยเน้นไปที่การระบายความร้อน กันแดด และกันฝน มีทิศทางให้ลมพัดผ่าน นับเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้บ้านเก็บความร้อนมากจนเกินไป และป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึมเข้าบ้านได้
หากคุณมีปัญหาน้ำรั่วซึม หรือประสบปัญหาใดๆ เกี่ยวกับหลังคาบ้าน สามารถติดต่อได้ที่ Q-CHANG ตามรายละเอียดด้านล่างนี้เลย
- website : https://www.q-chang.com
- Tel : 02-821-6545
- Line : @Q-CHANG
- Facebook : Q-CHANG คิวช่าง
- Youtube : Q-CHANG Official