ฝ้าภายนอก ประโยชน์มากมาย ที่ไม่ได้มีดีแค่บ้านสวย
การพักอาศัยในบ้านที่สวยงามพร้อมกับฝ้าสวย ๆ ที่ช่วยปกป้องบ้านของคุณในทุกฤดูไม่ว่าจะฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูหนาว ทำให้คุณรู้สึกอยู่แล้วสบายมากขึ้น การมีฝ้าภายนอกสวย ๆ พร้อมกับวัสดุที่แข็งแรงทนทานในทุกสภาพอากาศ จะช่วยเพิ่มความสวยงาม และป้องกันภัยให้กับคนในบ้านได้ ประโยชน์ของฝ้าสามารถกันความร้อน กันสัตว์ร้าย และกันฝน ช่วยให้คุณอุ่นใจในทุกฤดู เห็นประโยชน์เยอะอย่างนี้แล้วรีบหาช่างฝ้าเพดานมาช่วยติดตั้งฝ้าภายนอกกันดีกว่า
การเลือกฝ้าเพดานภายนอกเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะฝ้าต้องอยู่กลางแสงแดด ปะทะทั้งสายลมและสายฝน วัสดุที่ใช้ในการติดตั้งจึงควรมีความแข็งแรงทนทาน การเลือกวัสดุที่ดีมีคุณภาพ จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับฝ้าชายคาภายนอกให้นานขึ้น เราจะพาคุณไปหาคำตอบกันว่า การติดตั้งฝ้าภายนอกมีข้อดีอย่างไรอีก และควรต้องเลือกใช้วัสดุใดในการติดตั้งเป็นฝ้าภายนอก
ฝ้าภายนอก คืออะไร
ฝ้าภายนอกหรือฝ้าชายคาเป็นฝ้าที่ติดตั้งอยู่ภายนอกตัวบ้านหรืออาคาร ลักษณะของฝ้าจะปรับเปลี่ยนตามรูปแบบของหลังคา และโครงสร้างบ้านที่ได้ถูกออกแบบไว้ ซึ่งฝ้าลักษณะนี้จะต้องมีคุณสมบัติกันความชื้น กันความร้อน ทนทานทั้งแดดและฝน ฝ้าที่นิยมใช้มีทั้งฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์ และฝ้าไวนิล
โดยเจ้าของบ้านสามารถเลือกติดตั้งแผ่นฝ้าภายนอกได้หลายแบบด้วยกัน อาทิเช่น ฝ้าแบบทึบ, ฝ้าแผ่นเรียบ, ฝ้าเซาะร่อง, ฝ้าไม้ระแนง และฝ้าเซาะร่องพร้อมรูระบายอากาศ เป็นต้น ซึ่งการติดตั้งฝ้าจะสามารถลดความร้อนที่เกิดบริเวณโถงหลังคา ทำให้ในตัวบ้านมีอุณหภูมิลดลง ทั้งยังสามารถกันสัตว์เข้าไปในโถงหลังคา และช่วยให้ตัวบ้านภายนอกสวยงามขึ้นด้วย
ข้อดีของฝ้าภายนอก
การสร้างบ้านให้ดูสวยงาม จะช่วยเสริมความภูมิฐานของผู้อยู่ได้ การติดตั้งฝ้าภายนอกมีประโยชน์มากมาย ทั้งยังมีราคาไม่แพง เราจะพาไปชมกันว่าการติดตั้งฝ้าภายนอกนั้นมีข้อดีมากมายดังนี้
- การติดตั้งฝ้าภายนอกช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้อุณหภูมิภายในตัวบ้านเย็นลง
- ทำให้บ้านดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย เสริมภาพลักษณ์ให้บ้านดูหรูหรามีสไตล์
- ช่วยป้องกันแมลงและสัตว์ต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามาสร้างความเสียหายให้กับบ้าน เช่น หนู, งู, นก, หรือแมลงต่าง ๆ เป็นต้น
- ลดความร้อน และระบายอากาศได้ดี ไม่ทำให้บ้านเกิดความอับชื้น หรืออบอ้าวจนเกินไป
- มีความแข็งแรง ทนทาน ในทุกสภาพอากาศ ที่สำคัญปลวกไม่กิน
- สวยเป็นธรรมชาติ ไม่ดูดซับความร้อน
- ฝ้าชายคาภายนอกบางชนิดจะมีน้ำหนักเบา ไม่มีรอยต่อ
รูปแบบของฝ้าภายนอก
การติดตั้งฝ้าภายนอกจะต้องให้ความสำคัญกับวัสดุของฝ้า เนื่องจากแผ่นฝาบ้านภายนอกจะต้องสัมผัสทั้งแสงแดดและสายฝน จึงต้องใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน ทนน้ำและความชื้นได้ดี เช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ สมาร์ทบอร์ด และไม้เทียม ควรหลีกเลี่ยงฝ้าแผ่นยิปซัม หรือไม้ธรรมชาติ เพราะอาจมีปัญหาฝ้าบวม เปื่อย หรือผุพังได้ง่าย โดยรูปแบบฝ้ากันชื้นภายนอกแบบหลัก ๆ ที่สามารถเลือกใช้ได้มีดังนี้
1. ฝ้าภายนอก แบบแผ่นเรียบ
ฝ้าภายนอกแผ่นเรียบ หรือทึบ ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากทำให้บ้านดูโมเดิร์นขึ้น มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดตา มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบแผ่นเรียบสีพื้น แผ่นไม้เทียมที่สามารถตีเป็นระแนงไม้ได้ หรือแบบเซาะร่องเพื่อเพิ่มความสวยงาม จะเลือกแบบไหนก็ดูสวย ทำตัวบ้านให้ดูดีขึ้น
2. ฝ้าภายนอก แบบระบายอากาศ
ฝ้าภายนอกแบบระบายอากาศ เป็นรูปแบบที่คิดค้นมาแล้วว่าจะสามารถช่วยระบายความร้อนที่อยู่ใต้หลังคาได้เป็นอย่างดี ไม่กักเก็บความร้อนไว้ในตัวบ้าน โดยลักษณะของแผ่นฝ้าภายนอกรูปแบบนี้จะมีรูระบายอากาศอยู่ตลอดทั้งแผ่น อาจเป็นรูชิดกันแบบถี่ ๆ หรือเรียงต่อกันเป็นเส้น
วัสดุสำหรับฝ้าภายนอก มีอะไรบ้าง
คุณสมบัติของฝ้าภายนอกที่ดีควรจะกันฝน กันลม และกันแสงแดด ทนทานในทุกสภาพอากาศ เพื่อให้คุณได้ฝ้าภายนอกที่ดีมีคุณภาพ และมีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่ต้องมานั่งซ่อมฝ้าบ่อย ๆ การใส่ใจเลือกทำฝ้าหลังคาภายนอกด้วยวัสดุที่มีคุณภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมาก วัสดุทำฝ้าเพดานภายนอกมีอะไรบ้าง ไปดูกัน
1. สมาร์ทบอร์ด/ไฟเบอร์ซีเมนต์
เป็นวัสดุในการติดตั้งฝ้าภายนอกที่ทนต่อความชื้นมีทั้งแบบเซาะร่อง และแบบมีรูระบายอากาศ มีความแข็งแรงทนทาน นำความร้อนต่ำ ไม่ลามไฟ มีรูระบายอากาศ และติดตาข่ายกันแมลง มีความแข็งแรงทนทานในทุกสภาพอากาศ สามารถระบายความร้อนได้ดี ทนความชื้น ไม่เปื่อยยุ่ย ที่สำคัญปลวกไม่กิน ไม่เกิดเชื้อรา เหมาะแก่การติดตั้งเป็นฝ้าหลังคาภายนอก
2. ไม้
ข้อดีของการใช้วัสดุไม้มาทำฝ้าภายนอกคือ มีความสวยงาม ดูคลาสสิคเป็นธรรมชาติ สามารถตีเว้นช่องว่างเพื่อช่วยระบายอากาศได้ แต่มีข้อเสียคือไม่ค่อยทนกับความชื้น เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา และที่สำคัญมักมีปัญหาปลวกกินตามมาบ่อยครั้ง ในปัจจุบันจึงนิยมใช้วัสดุไม้เทียมมาใช้แทนไม้จริงเพราะมีความสวยงามและทนทานสูง
3. ไวนิล
การติดตั้งฝ้าภายนอกด้วยวัสดุไวนิลสามารถช่วยปัญหาเรื่องปลวกได้ ด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน ไม่ผุกร่อน หรือบวมโก่งจากความชื้น ไม่เกิดเชื้อรา เหมาะกับการใช้งานในสภาพอากาศร้อนชื้นและแดดจัด
4. ยิปซั่ม
ยิปซั่มมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ทนต่อแสงแดด รังสี UV สามารถทนความชื้น และสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ไม่แตก ไม่แห้งกรอบ หมดปัญหาแมลงกัดเจาะ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และยังช่วยลดอุณหภูมิบริเวณโถงฝ้าเพดานได้
ความแตกต่างของฝ้าภายนอกกับฝ้าภายใน
ฝ้าเพดานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่สองแบบด้วยกัน คือ ฝ้าภายใน และฝ้าภายนอก ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ล้วนช่วยให้บ้านคลายความร้อนได้ แต่มีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน วัสดุที่ใช้ทำฝ้าเพดานจึงต้องแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งข้อแตกต่างที่สำคัญของฝ้าทั้งสองรูปแบบมีดังนี้
- ฝ้าภายนอก : เป็นฝ้าที่ติดตั้งภายนอกบ้าน ต้องทนความชื้น พร้อมเผชิญกับทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าจะร้อน หรือฝน ฝ้าหลังคาภายนอกบางชนิดจะมีตาข่ายช่วยป้องกันสัตว์มาทำลายข้าวของในบ้าน โดยวัสดุที่เหมาะสมควรทำจากสมาร์ทบอร์ด คือ ไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้เทียม ไวนิล และยิปซั่มที่ทาสารเคลือบ ซึ่งมีความแข็งแรงทนทาน
- ฝ้าภายใน : เป็นฝ้าที่ติดตั้งภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องทนทานกับทุกสภาพอากาศเหมือนแบบแรก จึงมีรูปแบบให้เลือกมากกว่า และเน้นที่ความสวยงามเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทบอร์ด ไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้เทียม ไม้แท้ ไวนิล หรือแผ่นยิปซัม มีหลายแบบทั้งแบบเรียบ, แบบแขวน, แบบหลุม หรือแบบซ่อนไฟ ตกแต่งฝ้าเพดานสวย ๆ ก็สามารถใช้แบบไหนก็ได้ตามใจคุณ
วิธีการติดตั้งฝ้าภายนอก
ฝ้าภายนอกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างบ้าน มองเห็นได้จากภายนอก ช่วยให้บ้านสวยงาม และกันความร้อนได้ดี โดยการติดตั้งฝ้าหลังคาภายนอกมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือการติดตั้งแบบชนชิด และแบบตีเว้นร่อง ซึ่งการติดตั้งทั้งสองแบบมีรายละเอียดดังนี้
1. ติดตั้งฝ้าภายนอกแบบชนชิด
การติดตั้งฝ้าหลังคาภายนอกแบบนี้จะติดแผ่นฝ้าเรียบสนิทต่อเนื่องกัน ทั้งแบบมีรูระบาย และแบบที่ไม่มีรูระบาย สามารถช่วยระบายความร้อนบริเวณโถงหลังคา ไม่ทำให้บ้านร้อนอบอ้าวมากจนเกินไป มีวัสดุให้เลือกมากมาย ทั้งนี้มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้อยู่อาศัย เช่น
- ไม้ระแนง การติดตั้งไม้ระแนงแบบชนชิดจะต้องใช้ทักษะในการติดตั้งสูง จึงควรให้ช่างผู้ชำนาญเป็นผู้ติดตั้ง เพื่อจัดไม้ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม
- ฝ้าไวนิล ข้อดีมีน้ำหนักเบา ทนน้ำทนความชื้น ระบายความร้อนผ่านรูระบายอากาศได้ แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ไม่สามารถติดตั้งแนวยาวหรือขนานกับฝ้าภายนอกได้
- ฝ้ายิปซัม มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายมีราคาถูก ไร้รอยต่อ แต่ทนความชื้นได้ไม่ดีเท่าวัสดุอื่น ๆ หากถูกน้ำจะขยายตัว แผ่นแอ่นตัว และผุพังเปื่อยยุ่ยง่าย
2. ติดตั้งฝ้าภายนอกแบบตีเว้นร่อง
การติดตั้งด้วยวิธีนี้ช่างจะตีแผ่นฝ้าภายนอกให้ห่างกันประมาณ 5 – 8 มิลลิเมตร เพื่อให้หลังคาระบายความร้อนได้ดี ออกแบบให้บ้านดูโมเดิร์น เพิ่มมิติ โดยเน้นความประณีตในการติดตั้งฝ้าเพื่อความสวยงาม มีความแข็งแรงทนทาน ซึ่งการติดตั้งแบบนี้จะไม่มีปัญหาเวลาวัสดุเกิดความชื้นจนขยายตัว โดยวัสดุที่เหมาะกับการตีเว้นร่อง มีดังนี้
- สมาร์ทบอร์ด แผ่นเรียบ ที่อาจมีรูระบายอากาศ หรือติดตาข่ายกันแมลงสำเร็จรูปมาด้วย วัสดุชนิดนี้จะมีความแข็งแรงทนทาน หมดปัญหาเรื่องปลวก
- ไฟเบอร์ มีทั้งแบบเซาะร่องและแบบรูระบายอากาศ เหมาะสำหรับการติดตั้งฝ้าภายนอกแบบเว้นร่องเท่านั้น เพื่อป้องกันการหดและขยายตัวของวัสดุ
- ไม้เทียม ที่ดูสวยงามไม่แพ้กับไม้จริง หมดปัญหาเรื่องปลวก ต้องใช้ทักษะในการติดตั้งจากช่างผู้มีประสบการณ์สูง
แนะนำ “คิวช่าง” บริการติดตั้งฝ้าภายนอกมืออาชีพ
คิวช่าง (Q-CHANG) เป็นผู้มีประสบการณ์เรื่องบ้านมามากกว่าสิบปี สามารถติดตั้งฝ้าภายนอกได้ทุกประเภท มีช่างผู้เชี่ยวชาญมีทักษะและประสบการณ์สูง เราได้รวบรวมข้อมูลเรื่องฝ้าอย่างครอบคลุม มีรูปแบบฝ้าให้คุณเลือกมากมาย ช่วยให้คำแนะนำในการเลือกฝ้าอย่างมืออาชีพ ช่วยเลือกฝ้าที่เหมาะสมสำหรับบ้านของคุณ ทำให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
คุณสามารถติดตั้งฝ้าหลังคาภายนอกกับบริษัทชั้นนำมืออาชีพที่ดูแลเรื่องฝ้าโดยเฉพาะอย่าง คิวช่าง (Q-CHANG) เรามีความพร้อมทั้งทีมงานและอุปกรณ์ มั่นใจได้เลยว่าฝ้าภายนอกที่ติดตั้งเสร็จ จะออกมาสวยงามตรงใจอย่างแน่นอน
สรุปความรู้เรื่องฝ้าภายนอก
การติดตั้งฝ้าภายนอกมีความสำคัญมาก นอกจากจะช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับตัวบ้านแล้ว ยังช่วยกันความร้อน รวมถึงป้องกันสัตว์และแมลงต่าง ๆ ไม่ให้เข้าไปสร้างความเสียหายให้กับตัวบ้านได้ การเลือกบริษัทที่มีความชำนาญในการให้บริการติดตั้งฝ้าเพดานภายนอกโดยเฉพาะจะช่วยให้คุณได้วัสดุที่ดีมีคุณภาพ มีฝ้าที่ใช้งานได้อย่างยาวนาน Q-CHANG คือเพื่อนคู่คิดของคุณ สามารถติดต่อได้เลย เรามีช่างฝ้ามืออาชีพพร้อมให้บริการและให้คำปรึกษาฟรี ติดต่อได้ที่
- website : https://www.q-chang.com
- Tel : 02-821-6545
- Line : @Q-CHANG
- Facebook : Q-CHANG คิวช่าง
- Youtube : Q-CHANG Official