ดูมิเตอร์ไฟฟ้า

ดูมิเตอร์ไฟฟ้าอย่างไร? พร้อมวิธีอ่านตัวเลขค่าไฟง่าย ๆ ด้วยตนเอง

ไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของเรา นอกจากไฟฟ้าจะให้แสงสว่าง และความสะดวกในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอีกด้วย สำหรับผู้อยู่อาศัยอย่างเรา การดูมิเตอร์ไฟฟ้าให้เป็นก็เป็นสิ่งที่สำคัญอีกเช่นกัน เพื่อให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องของบิลค่าไฟฟ้า และควบคุมค่าใช้จ่ายให้อย่างเหมาะสม ในบทความนี้เรามีวิธีในการตรวจสอบเลขมิเตอร์ไฟฟ้าและวิธีอ่านค่าไฟจากมิเตอร์ รวมถึงใครที่อยากประหยัดค่าไฟฟ้าเราก็มีสาระน่ารู้ดี ๆ มาฝากทุกคนกัน!



ทำความรู้จัก “มิเตอร์ไฟฟ้า” คืออะไร?

มิเตอร์ไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าในบ้านหรืออาคาร โดยจะทำการบันทึกการใช้ไฟฟ้าเป็นหน่วยกิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ซึ่งเป็นหน่วยมิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ในการคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าที่ต้องชำระ โดยมิเตอร์ไฟฟ้าจะติดตั้งในจุดที่ไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าหลักเข้าสู่บ้าน เพื่อติดตามและบันทึกปริมาณการใช้ไฟฟ้าให้มีความแม่นยำที่สุด

ซึ่งการทำงานของมิเตอร์ไฟฟ้าจะแตกต่างกันไปตามประเภท เช่น มิเตอร์แบบหมุนที่ใช้เข็มในการแสดงค่า หรือมิเตอร์ดิจิตอลที่แสดงผลเป็นตัวเลขบนหน้าจอ การดูมิเตอร์ไฟฟ้าเหล่านี้จะช่วยให้คุณทราบถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าและสามารถจัดการค่าใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม 


ตัวเลขบนมิเตอร์ไฟฟ้าหมายถึงอะไรบ้าง?

วิธีดูมิเตอร์ไฟฟ้า ว่ากี่หน่วย
วิธีดูมิเตอร์ไฟฟ้า ว่ากี่หน่วย

วิธีดูเลขมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นขั้นตอนสำคัญในการอ่านค่าไฟ โดยการอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าจะช่วยให้คุณสามารถจัดการพลังงานได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องมาทำความรู้จักตัวเลขแต่ละส่วนบนมิเตอร์ไฟฟ้ากันก่อนว่ามีอะไรบ้าง

1. ขนาดแอมป์มิเตอร์

ขนาดแอมป์มิเตอร์สามารถวัดได้จากกระแสไฟฟ้าในหน่วยแอมป์ (Ampere) ของมิเตอร์ที่ใช้ในการวัดกระแสไฟฟ้า ซึ่งขนาดแอมป์มิเตอร์จะระบุอยู่บนตัวเครื่องของมิเตอร์ไฟฟ้า และมักจะเป็นป้ายหรือรายละเอียดที่ระบุขีดจำกัดของกระแสไฟฟ้าที่มิเตอร์สามารถวัดได้ เช่น 30A หรือ 15A เพื่อบ่งบอกถึงค่ากระแสสูงสุดที่มิเตอร์สามารถวัดได้

2. แรงดันไฟฟ้า

การตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าบนมิเตอร์ไฟฟ้าสามารถดูค่าแรงดันที่แสดงบนมิเตอร์ที่ใช้วัดแรงดันไฟฟ้าในวงจร โดยวิธีดูค่าแรงดันไฟฟ้าสามารถทำได้โดยการอ่านแสดงบนหน้าจอของมิเตอร์ ตัวเลขบนหน้าจอจะแสดงแรงดันไฟฟ้าในหน่วยโวลต์ (V) ซึ่งไฟบ้านทั่วไปมีแรงดันที่ 220 โวลต์ และโรงงานขนาดใหญ่จะมีแรงดันระหว่าง 380-400 โวลต์

3. กำลังไฟฟ้า

กำลังไฟฟ้าหมายถึงอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าในหน่วยเวลาหนึ่ง ซึ่งสะท้อนถึงความเร็วที่พลังงานถูกเปลี่ยนแปลงหรือใช้งานในระบบไฟฟ้า โดยการดูมิเตอร์ไฟฟ้าจะมีตัวเลขที่แสดงค่ากำลังไฟฟ้าในหน่วยวัตต์ (W) เช่น 1,500 W หมายความว่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้คือ 1,500 วัตต์ ซึ่งบ้านทั่วไปกำลังไฟที่ใช้ได้จะอยู่ที่ 1,500-3,000 วัตต์

4. ความถี่

ความถี่ของไฟฟ้า คือ จำนวนการเปลี่ยนแปลงทิศทางของกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในวงจรไฟฟ้าต่อวินาที ความถี่ของไฟฟ้าจะบอกถึงจำนวนครั้งที่กระแสไฟฟ้าจะเปลี่ยนทิศทางในหนึ่งวินาที โดยวิธีการดูมิเตอร์ไฟฟ้าหาค่าความถี่ให้สังเกตบนหน้าจอ ซึ่งจะระบุเป็นหน่วยเฮิรตซ์ (Hz) เช่น 50 Hz หรือ 60 Hz ขึ้นอยู่กับความถี่ของไฟฟ้าสำหรับพื้นที่นั้น ๆ

5. หน้าปัดหน่วยมิเตอร์

หน้าปัดหน่วยมิเตอร์ คือ ส่วนของมิเตอร์ไฟฟ้าที่แสดงค่าการใช้ไฟฟ้าหรือพลังงานที่วัดได้ในรูปแบบของตัวเลขหรือเข็ม ขึ้นอยู่กับประเภทของมิเตอร์ที่ใช้งาน ซึ่งค่าการใช้ไฟฟ้าจะถูกอ่านจากตำแหน่งของเข็มที่ชี้ไปที่ตัวเลขบนหน้าปัด ที่บอกถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าเป็นหน่วยกิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) 


ตัวอย่างการดูมิเตอร์ไฟฟ้าและคำนวณค่าไฟด้วยตนเอง

วิธีดูเลขหลักทศนิยมบนมิเตอร์ไฟฟ้าสามารถทำได้ด้วยการสังเกตหน้าจอมิเตอร์ไฟฟ้า โดยการดูหน่วยค่าไฟฟ้าไม่เพียงแต่ตัวเลขหลักจะเป็นสิ่งสำคัญเท่านั้น แต่มิเตอร์ไฟฟ้าบางรุ่นต้องอ่านตัวเลขที่ตามหลังจุดทศนิยมด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำที่สุด ซึ่งเราได้ยกอย่างการคำนวณค่าไฟมาให้คุณแล้วดังนี้

มิเตอร์ขนาด 5(15) A และ 5(45) A

มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5(15) A และ 15(45) A อ่านค่าโดยไม่ต้องนับหลักทศนิยม ตัวอย่างเช่น

  • วันที่ 1 ของเดือน หน่วยมิเตอร์ที่จดไว้ คือ 7360.8
  • วันที่ 31 ของเดือน หน่วยมิเตอร์ที่จดไว้ คือ 7480.7

ดังนั้น วิธีอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าและคำนวณค่าไฟในเดือนนั้น คือ 7480 – 7360 = 120 หน่วย

มิเตอร์ขนาด 30(100) A และ 50(150) A

มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 30(100) A และ 50(150) A อ่านค่าโดยนับหลักทศนิยม รวมทั้งหมด 5 หลัก ตัวอย่างเช่น

  • วันที่ 1 ของเดือน หน่วยมิเตอร์ที่จดไว้ คือ 76850
  • วันที่ 31 ของเดือน หน่วยมิเตอร์ที่จดไว้ คือ 78150

ดังนั้น วิธีอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าและคำนวณค่าไฟในเดือนนั้น คือ 78150 – 76850 = 1,300 หน่วย


วิธีประหยัดค่าไฟเบื้องต้นง่าย ๆ ทำได้จริง 

ดูมิเตอร์ไฟยังไง
ดูมิเตอร์ไฟยังไง

หลังจากทราบวิธีการดูมิเตอร์ไฟฟ้ากันแล้ว หลายคนอาจจะอยากทราบวิธีการประหยัดค่าไฟเพื่อจะช่วยลดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายรายเดือน โดยวิธีการประหยัดค่าไฟเบื้องต้นง่าย ๆ มีดังนี้

  • เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ได้รับการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานของ กฟผ. และกระทรวงพลังงาน ว่ามีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุดและประหยัดไฟมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเภทเดียวกัน
  • ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้งาน เพื่อป้องกันอันตรายจากการเกิดปัญหาทางไฟฟ้า และช่วยลดค่าไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น
  • เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะกับพื้นที่ เพื่อลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น และเป็นการลดค่าไฟฟ้ารายเดือนไปในตัว
  • ตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าและการเดินสายไฟ เพื่อหาจุดที่มีการสูญเสียพลังงานหรือจุดรั่ว ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
  • เลือกระบบไฟฟ้าให้เหมาะสม สำหรับบ้านหรืออาคารขนาดเล็กควรใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส และในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมควรใช้ไฟฟ้า 3 เฟส เพื่อปริมาณการจ่ายไฟฟ้าที่เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในอาคาร

สำหรับใครที่ต้องการหาช่างซ่อมไฟฟ้าตามบ้าน สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : หาช่างไฟฟ้า ครบวงจร จบที่เดียวผ่าน Q-CHANG


บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ด้วยทีมช่างมืออาชีพจาก “Q-CHANG” 

ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
ตรวจสอบระบบไฟฟ้า

หากคุณดูมิเตอร์ไฟฟ้าแล้วพบปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า หรือสังเกตเห็นความผิดปกติของวงจรไฟฟ้าในบ้าน สามารถติดต่อคิวช่าง (Q-CHANG) ได้ทันที เรามีช่างผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้บริการตรวจสอบและแก้ไขอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้าหรืองานบ้านอื่น ๆ ด้วยทีมงานมืออาชีพ อุปกรณ์ครบครัน และการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เรารับผิดชอบงานตั้งแต่เริ่มจนจบอย่างใส่ใจ ไม่ทิ้งงานอย่างแน่นอน

สนใจบริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าบ้าน หรือทีมช่างมืออาชีพในการตรวจสอบระบบเดินสายไฟ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับ Q-CHANG ได้ที่