อันตรายที่เกิดจากไฟตก

ไฟฟ้าตกเกิดจากอะไร วิธีแก้ปัญหาไม่ให้เกิดไฟตกภายในบ้านมีอะไรบ้าง

อันตรายที่เกิดจากไฟตกภายในบ้านนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา หากแรงดันไฟฟ้าจ่ายกระแสไฟฟ้าลดลงต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ส่งผลให้เกิดอาการไฟตกในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้รับความเสียหายจากไฟกระตุก ใช้งานได้ไม่ครบประสิทธิภาพ หากมีการป้องกันไฟที่บ้านตกบ่อยอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์ไฟตกได้


ไฟตก คืออะไร

ไฟที่บ้านตกบ่อยย่อมเกิดอันตราย
ไฟที่บ้านตกบ่อยย่อมเกิดอันตราย

ไฟตก เป็นปัญหาที่เกิดจากระบบไฟฟ้าภายในบ้านขัดข้อง ส่งผลให้ เครื่องใช้ไฟฟ้ามีโอกาสชำรุด ไปจนถึง ไฟช็อตขณะเสียบปลั๊กไฟภายในบ้าน ปกติแล้วแรงดันไฟฟ้าที่ส่งกระแสไฟตามครัวเรือนอยู่ที่ 230 V ซึ่งเป็นระบบกระแสไฟฟ้าที่ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ถ้าหากกระแสไฟฟ้าลดลงจากค่ามาตรฐานอยู่ที่ 220 V หรือต่ำกว่า 5% จากที่กำหนดไว้ ส่งผลให้เกิดอันตรายไฟตกไม่ว่าจะเป็น ไฟกระตุก ไปจนถึงกรณีร้ายแรงที่สุดจากเหตุการณ์ไฟตกบ่อย คือ เกิดเหตุเพลิงไหม้จากไฟที่บ้านตกบ่อย เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านนั่นเอง 


สาเหตุไฟตก เกิดจากอะไร

สาเหตุไฟตกในบ้านไม่ควรมองข้าม
สาเหตุไฟตกในบ้านไม่ควรมองข้าม

สาเหตุไฟตก เกิดจากแรงดันไฟฟ้าส่งตามครัวเรือนลดลงอยู่ที่ 220 V จากเดิมที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าตามครัวเรือนที่ 230 V ส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าภายในบ้านทำงานผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการไฟในบ้านตกเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจ่ายไฟผิดปกติหรือไฟกะพริบบ่อย ซึ่งสาเหตุที่ไฟตก มักเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุตรวจสอบระบบไฟฟ้า ดังนี้

1.ไฟตกทำให้กระแสไฟฟ้ากระชากในบ้าน

ไฟตกจากเหตุการณ์ไฟกระชากในบ้าน เกิดจากแรงดันไฟฟ้าขาดเสถียรภาพการใช้งานในช่วงเวลาหนึ่งอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ส่งแรงดันกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดไฟกระตุกในบ้าน

2.ฝนตกหนัก พายุ ลมแรง ฟ้าผ่า ส่งผลให้ไฟตก

สาเหตุไฟตกจากภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น ฝนตกหนักที่ทำให้ค่าความชื้นในอากาศเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ระบบไฟฟ้าไม่มีประสิทธิภาพ ฟ้าผ่าลงเสาไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงพายุ ลมแรงส่งผลให้ต้นไม้หรือใบไม้พาดสายไฟ ก่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าตกได้เช่นเดียวกัน

3.ตัวนำไฟฟ้าในบ้านขัดข้องทำให้แรงดันไฟฟ้าตก

ปกติแล้วตัวนำไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจ่ายกระแสไฟฟ้าภายในบ้าน ส่วนใหญ่ทองแดงจะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของตัวนำไฟฟ้า เพราะมีค่าการนำไฟฟ้าสูงมาก แข็งแรง สามารถนำไปรีดเป็นเส้นลวดขนาดเล็กได้ดี หากภายในตัวนำไฟฟ้าเกิดการช็อตหรือบางส่วนขัดข้อง ส่งผลให้เกิดไฟตกภายในบ้านได้เช่นกัน

4.บ้านละแวกเดียวกันแย่งไฟฟ้ากันเอง ทำให้ไฟที่บ้านตกบ่อย

หากบ้านละแวกเดียวกันมีครัวเรือนอาศัยรวมกันเป็นจำนวนมาก รวมถึงเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินพลังงานสูงอย่าง เครื่องทำน้ำอุ่น เตารีด ตู้เย็น รวมถึงใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงเวลาพร้อมกัน ส่งผลให้เกิดอาการไฟตกในบ้าน เนื่องจากสถานีจ่ายไฟไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าภายในบ้านได้ทันที

5.สายไฟชำรุดทำให้ไฟตก

เมื่อใช้สายไฟภายในบ้านเป็นเวลานาน ฉนวนหุ้มสายไฟย่อมละลายหรือขาด รวมถึงฉนวนหุ้มเปลือกขาด ทำให้สายไฟเกิดการสัมผัสกันของตัวนำไฟฟ้า นอกจากนี้สายไฟที่มีการใช้งานแบบงอสายหลายครั้ง เป็นผลให้ทองแดงในสายย่อมงอตามไปด้วย หากขาดการดูแลรักษาสายไฟให้ถูกวิธี ส่งผลก่อให้เกิดไฟตกบ่อย รวมถึงเหตุการณ์ไฟบ้านดับหลังเดียวด้วยเช่นกัน

6.แรงดันไฟฟ้าตกเพราะเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันมากเกินไป 

หากเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูงไม่ว่าจะเป็น เครื่องทำน้ำอุ่น ไมโครเวฟ หรือเตารีด ในระยะเวลา

พร้อมกัน ทำให้แรงดันไฟฟ้าจากต้นทางส่งกระแสไฟฟ้าภายในบ้านไม่เต็มกำลังไฟ ทำให้แรงดันไฟฟ้าตก ก่อให้เกิดไฟกระตุกภายในบ้าน

7.บ้านอยู่ไกลจากสถานีจ่ายไฟทำให้ไฟที่บ้านตกบ่อย

ทั่วไปแล้วที่อยู่อาศัยควรอยู่ห่างจากสถานีจ่ายไฟในระยะทางเหมาะสม เพื่อให้แรงดันที่ส่งกระแสไฟฟ้ามีความปลอดภัยตลอดการใช้งาน สำหรับบ้านที่อยู่ไกลจากสถานีจ่ายไฟ สถานีไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติ ทำให้ระบบไฟฟ้าภายในบ้านส่งกระแสไฟฟ้าไม่ทัน ก่อให้เกิดเหตุการณ์ไฟตกภายในบ้านได้
หากอยู่ใกล้กับสถานีจ่ายไฟมากเกินไป ส่งผลให้ส่งกระแสไฟฟ้ามากเกินไปจนเกิดไฟช็อตได้

8.ไฟบ้านตกเพราะกระแสไฟฟ้าไหลลงดิน 

กระแสไฟฟ้าไหลลงดินเกิดจากการติดตั้งสายไฟผิดวิธีตามมาตรฐาน การเสื่อมสภาพของฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน รวมถึงขาดการตรวจสอบพร้อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน นอกจากนี้การเกิดน้ำท่วมก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟตกจากกระแสไฟฟ้าไหลลงดินได้เช่นกัน 


ทำไมที่บ้านไฟตกบ่อย อันตรายไหม

ไม่ควรประมาทหากไฟบ้านตกบ่อย
ไม่ควรประมาทหากไฟบ้านตกบ่อย

หากอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีครัวเรือนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ย่อมก่อให้เกิดการแย่งกระแสไฟฟ้าจากสถานีจ่ายไฟ ทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟที่บ้านตกบ่อยให้รำคาญใจเสมอ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัจจัยไฟตกในชุมชนมากที่สุดคือ การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินพลังงานสูงหลายชนิดในระยะเวลาเดียวกัน

ยกตัวอย่างเช่น เลือกเปิดใช้เครื่องดูดฝุ่นเพื่อทำความสะอาดบ้าน เปิดใช้เตาหุงต้มไฟฟ้าและเปิดเครื่องปรับอากาศในเวลาเดียวกันภายในหมู่บ้าน หากเลือกเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟสูงพร้อมกัน ส่งผลให้ไฟกระตุก กระแสไฟจ่ายจากสถานีจ่ายไฟน้อยลง จนทำให้แรงดันไฟฟ้าตกภายในบ้าน บางกรณีอาจเกิดไฟลัดวงจร ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของไฟช็อตหรือเกิดเหตุเพลิงไหม้ในบ้านได้

ฉะนั้นไม่ควรประมาทอาการไฟตกในบ้านอย่างเด็ดขาด แม้ว่าเหตุการณ์ไฟตกมีวิธีแก้ไขระบบไฟฟ้าให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วได้ หากเกิดเหตุการณ์ไฟกระตุกบ่อยครั้งเกินไป อาจเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านไม่ว่าจะเป็นไฟช็อตลัดวงจรไปจนถึงเกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในบ้าน ที่ส่งผลต่อบุคคลในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นร่างกายหรือจิตใจ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวมากที่สุดด้วยเช่นกัน


ไฟตกบ่อย ส่งผลต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

 ไฟตกส่งผลต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า
ไฟตกส่งผลต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า

อาการไฟตกในบ้าน นอกจากจะทำให้ไฟที่บ้านตกบ่อยไปจนถึงแรงดันไฟฟ้าตกแล้ว ยังส่งต่อไปถึงระบบไฟฟ้าภายในบ้านเกิดความเสียหายด้วยเช่นกัน โดยผลกระทบที่เกิดจากไฟตกที่ส่งผลไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านนั้นประกอบด้วย

  • หากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันหลายเครื่อง กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้งานภายในบ้านมากกว่าปกติ ยิ่งใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินพลังงานสูงในเวลาเดียวกัน ทำให้แรงดันไฟฟ้าตกลง ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าภายในบ้านเกิดขัดข้อง เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่สามารถดึงไฟมาใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ 
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหยุดทำงานชั่วคราว เช่น หลอดไฟเปิดติดยาก หรือหลอดไฟเปิดติด ๆ ดับ ๆ ปั๊มน้ำไม่ทำงาน เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าตก หรืออุปกรณ์มอเตอร์หมุนสูงไม่ทำงานจากสาเหตุเดียวกัน ทำให้เกิดความร้อน มีกลิ่นไหม้ได้ทันที
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น หลอดไฟส่องสว่างน้อยกว่าปกติ พัดลมหมุนช้าลงจากเดิม

วิธีแก้ปัญหาไฟตกบ่อย ต้องทำอย่างไรบ้าง

ช่างไฟฟ้าตรวจสอบไฟกระตุก
ช่างไฟฟ้าตรวจสอบไฟกระตุก

สำหรับการแก้ปัญหาไฟตกบ่อย เจ้าของบ้าน หรือผู้อยู่อาศัยสามารถทำการตรวจสอบด้วยตนเองเบื้องต้นได้ตามวิธีดังต่อไปนี้

1.ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้เสมอ

ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูงโดยการถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน เช่น เตารีด เตาไมโครเวฟ เพื่อป้องกันแรงดันไฟฟ้าตกเกิดจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกัน ส่งผลให้เกิดไฟตกภายในบ้านได้

2.คอยตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน

ผู้อาศัยภายในบ้านควรตรวจสอบระบบไฟฟ้า ไปจนถึงดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านให้ปลอดภัยอยู่เสมอเพื่อป้องกันอาการไฟตกในบ้าน หากพบว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านชำรุด ควรเรียกช่างไฟที่มีประสบการณ์เข้ามาเช็กไฟในบ้าน

3.เลือกใช้แต่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน

เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อให้บ้านปลอดภัยจากแรงดันไฟฟ้าตกไปจนถึงไฟฟ้าลัดวงจร

4.หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อมีฝนตกหนัก ฟ้าผ่า พายุ

ลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงฝนตกหนัก ฟ้าผ่า ไปจนถึงเกิดพายุ เนื่องจากช่วงฝนตกค่าความชื้นในอากาศสูงขึ้น ทำให้ระบบกระแสไฟฟ้าขาดประสิทธิภาพการใช้งาน หากเกิดฟ้าผ่าลงหม้อแปลงหรือเสาไฟฟ้า ก็มีโอกาสเกิดไฟกระตุกไปจนถึงไฟลัดวงจรในบ้านได้

5.เลือกทำเลบ้านที่ไม่ห่างไกลกับแหล่งจ่ายไฟจนเกินไป

ผู้อาศัยควรเลือกที่พักไม่ใกล้จากสถานีจ่ายไฟมากจนเกินไป เพื่อป้องกันเหตุอันเกิดจากเหตุการณ์ไฟตกในบ้าน รวมถึงไม่ควรอยู่ห่างไกลจากสถานีจ่ายไฟเกินไป เพราะทำให้รับกระแสไฟได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดไฟที่บ้านตกบ่อยได้เช่นกัน

6.ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย

ผู้อาศัยควรเลือกช่างไฟที่มีประสบการณ์มาติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า เครื่องตัดไฟรั่ว เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไฟตก 

7.ติดตั้งเครื่องสำรองไฟ เพื่อป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย

ผู้อาศัยควรติดตั้งเครื่องสำรองไฟในบ้าน หากภายในบ้านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินพลังไฟสูงอย่างคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไฟกระตุกบ่อย เมื่อเกิดฝนตกหรือฟ้าผ่า รวมไปถึงให้ช่างเดินสายไฟป้องกันไม่ให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลลงดินจนถึงไฟตกได้


“Q-CHANG” สามารถแก้ปัญหาไฟตกภายในบ้านให้คุณได้

ช่างไฟตรวจสอบไฟกระตุกในบ้าน
ช่างไฟตรวจสอบไฟกระตุกในบ้าน

ปัญหาไฟตกภายในบ้าน บุคคลทั่วไปไม่สามารถซ่อมแซมระบบไฟฟ้าได้ด้วยตัวเองทั้งหมด การว่าจ้างช่างไฟฟ้ามากประสบการณ์ มีความรู้ระบบไฟเป็นอย่างดีถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดี เพื่อป้องกันการเกิดแรงดันไฟฟ้าตกจนเป็นอันตรายได้ 

Q-CHANG พร้อมดูแลไฟฟ้าภายในบ้านจากช่างที่มีใบประกอบวิชาชีพ มากด้วยรีวิวจากผู้ใช้บริการจริง พร้อมด้วยทักษะการสื่อสารระหว่างช่างและผู้ใช้งานมากด้วยคุณภาพ มั่นใจได้ครบทุกปัญหาเรื่องไฟไม่ว่าจะเป็นไฟกระตุก ไปจนถึงแก้ไขอาการไฟตกในบ้านได้แน่นอน


ปัญหาไฟตกบ่อยเกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีป้องกันอย่างไร

ปัญหาไฟตกในบ้าน เกิดจากแรงดันไฟฟ้าที่มีอัตรากำลังจ่ายลดลงอยู่ที่ 220 V หรือคิดเป็น 5% 

ที่ทางการไฟฟ้าได้ระบุไว้ ผู้อาศัยไม่ควรประมาทการเกิดไฟตกให้เป็นเหตุการณ์ทั่วไปเท่านั้น เพราะอาการไฟตกในบ้าน นอกจากทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น อาจลามไปถึงไฟลัดวงจร จากแรงดันไฟฟ้าตก ย่อมส่งผลให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ในบ้านได้

ดังนั้นแล้วหากไฟที่บ้านตกบ่อย ผู้อาศัยไม่ควรประมาทเด็ดขาด ควรติดต่อช่างไฟที่มีประสบการณ์เรื่องไฟฟ้า มีใบประกอบวิชาชีพรับรอง ที่ Q-CHANG เราพร้อมด้วยช่างมากฝีมือ ผ่านการอบรมพร้อมใบรับรอง มีรีวิวจากผู้ใช้งานจริง พร้อมด้วยแพลตฟอร์มที่ติดต่อได้สะดวก รวดเร็วทันใจ หากท่านใดสนใจให้ช่างไฟฟ้าของเราเข้ามาดูแลระบบไฟฟ้าที่บ้าน สามารถติดต่อได้ที่